วันที่ 22 ก.พ. นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.87 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงเล็กน้อย” จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.85 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.80-36.05 บาทต่อดอลลาร์
โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงบ้าง (แกว่งตัวในช่วง 35.80-35.95 บาทต่อดอลลาร์) กดดันโดยจังหวะการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ หลังถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดและรายงานการประชุมเฟดล่าสุด ยังคงย้ำว่า เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ย นอกจากนี้ ภาพดังกล่าวยังได้กดดันให้ราคาทองคำย่อตัวลงบ้าง กดดันให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลงตาม คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อย่างไรก็ดี รายงานผลประกอบการของบริษัท Nvidia ล่าสุดที่ออกมาแข็งแกร่ง และคาดการณ์ผลประกอบการที่มีแนวโน้มขยายตัวดีกว่าคาด ก็อาจส่งผลให้บรรยากาศในตลาดการเงินโดยรวมอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) สอดคล้องกับสัญญาฟิวเจอร์สตลาดหุ้นสหรัฐ ที่ปรับตัวขึ้นพอสมควร ซึ่งภาวะเปิดรับความเสี่ยงดังกล่าวอาจกดดันให้เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวในกรอบ sideways หรือ ย่อตัวลงได้บ้างในช่วงนี้
บรรดาผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐ ต่างรอลุ้น รายงานผลประกอบการของ Nvidia -2.9% ในช่วงหลังตลาดปิดทำการ ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนเลือกที่จะทยอยขายทำกำไรหุ้น Nvidia ออกมาบ้าง กดดันให้หุ้นกลุ่ม Semiconductor/AI-theme ย่อตัวลงบ้าง ทว่าตลาดหุ้นสหรัฐ ยังพอได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน Exxon Mobil +2.0% ตามการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบ ทำให้โดยรวมดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ย่อตัวลง -0.32% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด +0.13%คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวลดลงต่อ -0.17% ตามแรงขายหุ้นกลุ่มธนาคาร นำโดย HSBC -8.4% หลังธนาคาร HSBC รายงานผลประกอบการที่แย่กว่าคาด ขณะเดียวกันผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบริษัท Nvidia สหรัฐ รวมถึงรายงานการประชุมเฟด ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นบ้างของหุ้นกลุ่มพลังงาน อาทิ Shell +0.8% หลังราคาน้ำมันดิบพลิกกลับมาปรับตัวสูงขึ้น
ในฝั่งตลาดบอนด์ มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยิ่งเชื่อว่า เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ย (ล่าสุด จาก CME FedWatch Tool ผู้เล่นในตลาดเชื่อว่า เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน) สอดคล้องกับถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดและรายงานการประชุมเฟดล่าสุด รวมถึง ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ อายุ 20 ปี ที่ความต้องการชะลอลงจากรอบก่อนหน้าพอสมควร ได้กดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ทยอยปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 4.30% อีกครั้ง
ทั้งนี้ เราคงมุมมองเดิมว่า แม้ว่าบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ยังมีโอกาสผันผวนสูงขึ้นต่อได้บ้าง ขึ้นกับรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ที่จะส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ทว่า เรายังมองว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ ในโซนเหนือกว่า 4.20% ถือเป็นระดับที่น่าสนใจ และนักลงทุนสามารถทยอยเพิ่มสถานะการลงทุนได้ หรือนักลงทุนอาจรอจังหวะ Buy on Dip ก็ได้เช่นกัน
ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์มีจังหวะแข็งค่าขึ้นบ้าง ตามการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐ และภาวะปิดรับความเสี่ยงในตลาดหุ้นสหรัฐ ทว่า เงินดอลลาร์ก็ยังไม่สามารถแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้ เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างทยอยลดสถานะ Long USD ลงบ้าง ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 104 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 103.9-104.2 จุด)
ในส่วนของราคาทองคำ จังหวะการปรับตัวขึ้นของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี จากท่าทีของเฟดที่ย้ำจุดยืนไม่รีบลดดอกเบี้ย ได้กดดันให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) ย่อตัวลงสู่โซน 2,030 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง ซึ่งในช่วงโซนราคาดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดบางส่วนก็ยังคงทยอยเข้าซื้อทองคำอยู่บ้างและโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงคืนที่ผ่านมา
สำหรับวันนี้ ไฮไลต์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นอย่างใกล้ชิด คือ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (Manufacturing and Services PMIs) ของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ทั้ง สหรัฐ ยูโรโซน อังกฤษ และญี่ปุ่น เนื่องจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลักได้
และนอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดก็จะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ซึ่งในระยะนี้ บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างก็ออกมาย้ำจุดยืนไม่รีบลดดอกเบี้ย จนทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มเชื่อว่า เฟดอาจสามารถลดดอกเบี้ยได้ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ใน Dot Plot ล่าสุด
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท เรายังไม่เปลี่ยนมุมมองว่า โมเมนตัมการอ่อนค่านั้นแผ่วลง ทว่าด้วยปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าที่ยังมีอยู่ โดยเฉพาะ มุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ยิ่งเชื่อว่า เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ย ก็อาจทำให้เงินบาทมีจังหวะผันผวนอ่อนค่าได้บ้าง แต่เรามองว่า การอ่อนค่าของเงินบาทนั้นจะเป็นไปอย่างจำกัด หลังเงินบาทได้พลิกกลับมาแข็งค่าหลุดแนวรับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้การเคลื่อนไหวของเงินบาทในช่วงนี้ อาจมีลักษณะ Sideways Down (แกว่งตัวในกรอบ แต่ก็มีโอกาสแข็งค่าขึ้นบ้าง)
นอกจากนี้ บรรยากาศในตลาดการเงินฝั่งเอเชียที่อาจกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่อง จากทั้งความหวังแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึง รายงานผลประกอบการของ Nvidia ที่ออกมาสดใสล่าสุด ก็อาจช่วยลดทอนแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อสกุลเงินฝั่งเอเชียได้บ้าง ซึ่งต้องจับตาว่า นักลงทุนต่างชาติจะเดินหน้าเข้าซื้อสินทรัพย์ไทยต่อเนื่องได้หรือไม่ โดยเบื้องต้นเราประเมินว่า เงินบาทอาจยังไม่สามารถแข็งค่าขึ้นผ่านโซนแนวรับ 35.80 บาทต่อดอลลาร์ ไปได้ง่าย หากไม่มีปัจจัยหนุนการแข็งค่าใหม่ๆ ที่ชัดเจน
อนึ่ง มองว่า ควรระวังความผันผวนของตลาดค่าเงินในช่วงผู้เล่นในตลาดทยอยรับรู้รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก เพราะอาจส่งผลต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายได้ โดยต้องจับตาว่า รายงานดัชนี PMI ดังกล่าวจะส่งผลให้ ธนาคารกลางหลักอื่นๆ อาทิ BOE และ ECB สามารถลดดอกเบี้ยได้เร็วกว่าเฟด หรือไม่ (ล่าสุดผู้เล่นในตลาดประเมินว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน)
ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง